>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาขาวิชาการจัดการสุขภาพ
    ภาษาอังกฤษ : Master of Public Health Program in Health Management

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสุขภาพ)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : ส.ม. (การจัดการสุขภาพ)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Public Health (Health Management)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.P.H. (Health Management)

ปรัชญาของหลักสูตร

    นักจัดการสุขภาพมีความรู้ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถ บูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นสากลร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

จุดเด่นของหลักสูตร

    การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงสถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคน นำไปสู่สถานการณ์โรคเรื้อรังและโรคอุบัติใหม่ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่คุกคามสังคมไทยในยุคปัจจุบัน งานสาธารณสุขจึงเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญยิ่งโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ การจัดการทั้งปัจจัยภายใน ตัวบุคคลและปัจจัยภายนอก รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ กลไกหลักอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุข คือ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการให้คำแนะนำ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู รวมถึงการจัดการปัญหาด้านสาธารณสุขหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรอิสระได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นและ มีความต้องการกำลังคนทางด้านสาธารณสุข เพื่อดำเนินแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมถึงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่โดยบูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นสากลร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
    2) มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขหรือสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสาธารณสุขหรือสุขภาพมาก่อน ต้องได้คะแนนสะสมเฉลี่ยในระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.50 และได้รับการเห็นชอบ ให้เข้าศึกษาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
    3) สำหรับผู้ที่ไม่จบการศึกษาในสาขาวิชาด้านสาธารณสุขหรือสุขภาพจะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานตามที่สาขาวิชากำหนดโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตในการจบการศึกษา
    4) ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะสาขาตามที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการประจำ/บริหาร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    2) นักวิจัยทางสุขภาพ
    3) ครู อาจารย์ด้านสุขภาพ/สาธารณสุขศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชน
    4) นักวิชาการด้านสุขภาพ
    5) พนักงานบริษัทเอกชนด้านสุขภาพ
    6) ประกอบอาชีพอิสระโดยให้คำแนะนำทางด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

โครงสร้างหลักสูตร

    หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข

หมวดวิชา

จำนวนหน่วยกิต  

 แผน ก แบบ ก2

แผน ข 

1) หมวดวิชาบังคับ

12

 12

2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา

12

 15

3) หมวดวิชาเลือก

3

 6

4) วิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ

12

 6

รวมไม่น้อยกว่า

39

39

 โครงสร้างรายวิชา

    1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

SPH701

นโยบายและระบบสุขภาพ
Health System and Policy

3(3-0-6)

SPH702

หลักวิทยาการระบาด
Principles of Epidemiology

3(3-0-6)

SPH703

พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา
Behavioral Sciences and Health Education

3(3-0-6)

SPH704

สถิติทางการวิจัยสุขภาพ
Statistics in Health Research

3(2-2-5)

    2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา
        แผน ก แบบ ก2   ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
        แผน ข                ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

 

SPH705

กลยุทธ์ทางการจัดการสุขภาพ
Strategies in Health Management

3(3-0-6)

SPH706

วิธีวิจัยทางสุขภาพ
Research Methodology in Health

3(3-0-6)

SPH707

การวางแผนและประเมินผลแผนงานทางสุขภาพ
Program Planning and Evaluation in Health

3(3-0-6)

SPH708

การจัดการบริการสุขภาพ
Health Services Management

3(3-0-6)

SPH709

การบริหารงานสาธารณสุข
Public Health Administration

3(3-0-6)

    3) หมวดวิชาเลือก
        แผน ก แบบ ก2   ให้เลือกเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
        แผน ข                ให้เลือกเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

SPH710

สัมมนาการจัดการสุขภาพ
Seminar in Health Management

2(1-2-3)

SPH711

สุขภาพนานาชาติ
International Health

2(2-0-4)

SPH712

การศึกษาเฉพาะกรณีด้านการจัดการสุขภาพ
Directed Study in Health Management

2(1-2-3)

SPH713

การฝึกปฏิบัติการจัดการสุขภาพ
Practicum in Health Management

2(0-2-4)

SPH714

ภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรสุขภาพ
English for Health Personnel

2(2-0-4)

SPH715

การเขียนบทความวิชาการด้านสุขภาพ
Academic Writing in Health

2(2-0-4)

SPH716

เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
Public Health Economics

2(2-0-4)

SPH717

การส่งเสริมสุขภาพ
Health Promotion

2(2-0-4)

SPH718

การจัดการสุขภาพในชุมชน
Community Health Management

2(2-0-4)

SPH719

คอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยทางสุขภาพ
Computer in Health Research

2(1-2-3)

    4รายวิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร)
SPH722 การสาธารณสุขทั่วไป
General Public Health
3(3-0-6) 
    5) วิทยานิพนธ์ /การศึกษาค้นคว้าอิสระ
  การสอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination
0 หน่วยกิต
SPH720 วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต
SPH721 การศึกษาค้นคว้าอิสระ
Independent Study
6 หน่วยกิต
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

    ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 132,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 5 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 26,400 บาท  >>รายละเอียดค่าธรรมเนียม<<

*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*