>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ภาษาอังกฤษ : Master of Business Administration Program in Business Administration
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Business Administration (Business Administration)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.B.A. (Business Administration)
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ ให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความเป็นผู้นำ คิดวิเคราะห์เชิงการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างสร้างสรรค์สู่สากลและยั่งยืน
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และภาครัฐได้ส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างนักวิชาการ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการที่มีความรู้ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปให้สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการดำเนินการและประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีศักยภาพ และสมรรถนะในการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานในองค์การ ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้ตามการเปลี่ยนแปลงของบริบทขององค์การและประเทศ โดยการผลิตบุคลากรทางด้านการบริหารจัดการให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิผล กอรปกับมีความเข้าใจในการดำเนินงานของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
2) มีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ต้องได้คะแนนสะสมเฉลี่ยตามที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด
3) สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องจะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานตามที่หลักสูตรกำหนดโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตในการสำเร็จการศึกษา
4) ทั้งนี้การพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
ประกอบอาชีพทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ รัฐวิสาหกิจ องค์การส่วนท้องถิ่น โรงงานอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ หรือในธุรกิจต่างๆ ดังนี้
1) ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ
2) ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจต่างๆ
3) พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจต่างๆ
4) อาจารย์
5) นักวิจัย
6) นักวิชาการ
7) ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ด้านการบริหาร การจัดการ
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก2 | แผน ข | |
1) หมวดวิชาแกน 2) หมวดวิชาเฉพาะ 3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ (1) วิทยานิพนธ์ (2) การศึกษาค้นคว้าอิสระ |
18 1612 – |
18 12- 6 |
หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า | 36 | 36 |
โครงสร้างรายวิชา
แผน ก แบบ ก 2 | ศึกษารายวิชาแกนและวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 24 หน่วยกิต |
แผน ข | ศึกษารายวิชาแกนและวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต |
1) หมวดวิชาแกน | ||
MBA711 | การจัดการการตลาดยุคดิจิทัล Digital Marketing Management |
3(3-0-6) |
MBA712 | การบัญชีและการจัดการการเงิน Accounting and Financial Management |
3(3-0-6) |
MBA713 | การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management and Development |
3(3-0-6) |
MBA714 | การจัดการการดำเนินงาน Operations Management |
3(3-0-6) |
MBA715 | การวิจัยและสถิติทางการบริหารธุรกิจ Research and Statistics in Business Administration |
3(2-2-5) |
MBA716 | การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ Situation Analysis for Strategic Management |
3(3-0-6) |
2) หมวดวิชาเฉพาะ | ||
แผน ก แบบ ก 2 | ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต |
แผน ข | ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า | 12 หน่วยกิต |
MBA721 | การพัฒนาองค์การและการจัดการการเปลี่ยนแปลง Organization Development and Changes Management |
3(3-0-6) |
MBA722 | พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่ Organizational Behavior and Modern Management |
3(3-0-6) |
MBA723 | การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ International Business Management |
3(3-0-6) |
MBA724 | การจัดการสถาบันการเงิน Management of Financial Institutions |
3(3-0-6) |
MBA725 | การจัดการคุณภาพ Quality Management |
3(3-0-6) |
MBA726 | การจัดการโลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย Logistics Management, Environment and Safety |
3(3-0-6) |
MBA727 | สัมมนาการบริหารธุรกิจ* Seminar in Business Administration |
3(2-2-5) |
3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ | ||
(1) แผน ก แบบ ก 2 | ||
MBA741 | วิทยานิพนธ์ Thesis |
12 หน่วยกิต |
(2) แผน ข | ||
MBA751 | การสอบประมวลความรู้ Comprehensive Examination |
0 หน่วยกิต |
MBA752 | การศึกษาค้นคว้าอิสระ Independent Study |
6 หน่วยกิต |
4) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
MBA701 | ภาษาอังกฤษสำหรับนักธุรกิจ English for Executive |
3(3-0-6) |
ข้อกำหนดเฉพาะ : เงื่อนไขสำหรับผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาอื่น ที่เกี่ยวข้อง หรือตามความเห็นของคณะกรรมการประจำหลักสูตร จะต้องเรียนรายวิชาดังนี้ โดยไม่นับหน่วย |
||
MBA702 | หลักการบริหารธุรกิจและการบัญชีสำหรับนักธุรกิจ Principles of Business Administration and Accountingfor Business People |
3(3-0-6) |
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด |
หมายเหตุ : * บังคับเรียน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
1) ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหลักสูตรหรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 120,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท
2) ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหลักสูตรหรือสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 140,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 7 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท >>รายละเอียดค่าธรรมเนียม<<
*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*