วท.ม. วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมฯ

>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Science and Innovation for Development

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : วท.ม. (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Science (Science and Innovation for Development)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.Sc. (Science and Innovation for Development)

ปรัชญาของหลักสูตร

    ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำไปสร้างนวัตกรรมนำสู่ การใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ให้ทันต่อความต้องการและการพัฒนาประเทศ

จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่จะนำสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคคล ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาทุกด้านในอนาคต ซึ่งต้องการบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีทักษะและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่จะนำสู่การพัฒนานวัตกรรม และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับสาขาวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไปได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษาในวิชาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์การสอนทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    3) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์การการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชนหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    4) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
    5) มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการศึกษามาก่อน ต้องได้คะแนนสะสมเฉลี่ยในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 และได้รับการเห็นชอบให้เข้าศึกษาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
    6) บุคคลทั่วไปที่จบการศึกษาสาขาวิชาอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และชุมชน
    7) สำหรับผู้ที่ไม่จบการศึกษาในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์หรือด้านการศึกษา ในวิชาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานตามที่สาขาวิชากาหนดโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตในการจบการศึกษา
    8) ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะสาขาตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
    2) นักวิชาการทางการศึกษา
    3) นักวิชาการในองค์การภาครัฐและเอกชน
    4) ผู้บริหารองค์การภาครัฐและเอกชน
    5) อาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันการศึกษา
    6) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    7) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข

หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 แผน ข
1) หมวดวิชาบังคับ 12 12
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน 12 15
3) หมวดวิชาเลือก 3  6
4) วิทยานิพนธ์  12
5) การศึกษาค้นคว้าอิสระ
6) วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต 3 3
รวมไม่น้อยกว่า 39 39

 โครงสร้างรายวิชา

    1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
SSI701 ปรัชญาและวิสัยทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
Philosophy and Vision of Science
2(2-0-4)
SSI702 สถิติและระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
Research Methodology in Science and Innovation
3(3-0-6)
SSI703 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
Research and Development of Innovation in Science
3(2-2-5)
SSI704 การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Seminar in Science and Innovation for Development
1(0-3-2)
SSI712 สมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรม
Competencies in Science and Technology for developing Innovation
 3(3-0-6)
SSI716 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
Innovation for Development in Science
 3(2-2-5)
    2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน
แผน ก แบบ ก2   ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
        แผน ข                ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
      (1) รายวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ 
SSP701 กลศาสตร์
Mechanics
3(2-2-5)
SSP702 แม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetics
3(2-2-5)
SSP703 ฟิสิกส์แผนใหม่
Modern Physics
3(2-2-5)
SSP704 ฟิสิกส์เชิงความร้อน
Thermal Physics
3(3-0-6)
SSP705 อิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงสาหรับนักฟิสิกส์
Advanced Electronics for Physicist
3(2-2-5)
SSP706 ฟิสิกส์ของพลังงาน
Energy Physics
3(3-0-6)
SSP707 ฟิสิกส์และเทคโนโลยี
Physics and Technology
3(3-0-6)
ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต 
SSP708 ฟิสิกส์ทั่วไป 1
General Physics 1
3(2-2-5)
SSP709 ฟิสิกส์ทั่วไป 2
General Physics 2
3(2-2-5)
SSP710 คณิตศาสตร์สาหรับนักฟิสิกส์
Mathematics for Physicist
3(3-0-6)
      (2) รายวิชาเคมี
SSC701 ความปลอดภัยเกี่ยวกับปฏิบัติการเคมี
Safety in Chemical Laboratory
3(2-2-5)
SSC702  เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง
Advanced Inorganic Chemistry
3(2-2-5)
 SSC703 เคมีอินทรีย์ขั้นสูง
Advanced Organic Chemistry
3(2-2-5)
SSC704 เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง
Advanced Physical Chemistry
3(2-2-5)
SSC705 ชีวเคมีขั้นสูง
Advanced Biochemistry
3(2-2-5)
SSC706 เคมีวิเคราะห์ขั้นสูง
Advanced Analytical Chemistry
3(2-2-5)
SSC707 เคมีสิ่งแวดล้อมสาหรับวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Environmental Chemistry for Science Education
3(2-2-5)
SSC708 การบาบัดน้าเสียเบื้องต้น
Fundamental of Water and Wastewater Treatments
3(2-2-5)
ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาเคมี สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต
SSC709 เคมีอนินทรีย์ 1
Inorganic Chemistry I
3(3-0-6)
SSC710 เคมีอินทรีย์ 1
Organic Chemistry I
3(3-0-6)
SSC711 เคมีวิเคราะห์
Analytical Chemistry
3(3-0-6)
      (3) รายวิชาชีววิทยา
SSB701 ชีววิทยาของสัตว์
Animal Biology
3(2-2-5)
SSB702 ชีววิทยาของพืช
Plant Biology
3(2-2-5)
SSB703 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ
Economic Plant Tissue Culture
3(2-2-5)
SSB704 พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล
Molecular Genetics
3(2-2-5)
SSB705 ความหลากหลายทางชีวภาพ
Biodiversity
3(2-2-5)
SSB706 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Biological Science
3(3-0-6)
SSB707 สัมมนาทางชีววิทยา
Seminar in Biology
3(3-0-6)
SSB708 การผลิตสื่อการสอนทางชีววิทยา
Production of Instructional Media in Biology
3(2-2-5)
SSB709 จุลชีววิทยาอาหารอุตสาหกรรม
Food Industrial Microbiology
3(2-2-5)
ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต
SSB710 ชีววิทยาทั่วไป
General Biology
3(3-0-6)
SSB711 ชีววิทยาของเซลล์
Cell Biology
3(3-0-6)
SSB712 นิเวศวิทยา
Ecology
3(3-0-6)
      (4) รายวิชาคอมพิวเตอร์  
SSI701 หลักสาคัญทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Fundamental of Computer and Information Technology
3(2-2-5)
SSI702 ระบบคอมพิวเตอร์
Computer Systems
3(2-2-5)
SSI703 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการพัฒนาระบบ
Computer Programming and System Development
3(2-2-5)
SSI704  เทคโนโลยีฐานข้อมูล
Database Technology
3(2-2-5)
SSI705  เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Computer Network Technology
3(2-2-5)
SSI706  มัลติมีเดียและการผลิตสื่อดิจิทัล
Multimedia and Digital Content Production
3(2-2-5)
SSI707  การออกแบบและพัฒนาเว็บ
Web Design and Development
3(2-2-5)
SSI708  กฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
Law and Ethics in Computer
3(2-2-5)
    3) หมวดวิชาเฉพาะด้าน
แผน ก แบบ ก2   ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
        แผน ข                ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
SSI705 โครงงานวิทยาศาสตร์
Science Project
3(3-0-6) 
SSI706 การศึกษางานวิจัยทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
Research Studies in Science and Innovation
3(2-2-5)
SSI707 ปัญหาพิเศษทางการศึกษาวิทยาศาสตร์
Special Problems in Science Education
3(3-0-6)
SSI708 การวัดและประเมินผลการสอนวิทยาศาสตร์
Measurement and Evaluation in Science Teaching
3(3-0-6)
SSI709 การพัฒนาความสามารถในการสืบเสาะความรูทางวิทยาศาสตร์
Development of Scientific Inquiry Ability
3(3-0-6)
 SSI710 ทรัพยากรมนุษยทางดานวิทยาศาสตร์
Human Resource in Science
3(3-0-6)
EED701 สื่อมวลชนเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์
Mass Media for Science Teaching
3(3-0-6)
EGS701 เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
Technique for Science Teaching
3(3-0-6)
EGS702 โปรแกรมการสอนวิทยาศาสตร์
Science Teaching Program
3(3-0-6)
EED702 การผลิตวัสดุเทคโนโลยีการสอนวิทยาศาสตร์
Instruction Materials Production in Science Teaching
3(2-2-5)
EET701 เทคโนโลยีทางการศึกษา
Technology in Education
3(3-0-6)
ERE701 การวิจัยเชิงคุณภาพ
Qualitative Research
3(3-0-6)
    4วิชาพื้นฐานภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร)
 SSI711 ภาษาอังกฤษสาหรับบุคลากรทางวิทยาศาสตร์
English for Science and Innovation
3(3-0-6) 
    5) วิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ
การสอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination
 0 หน่วยกิต
SSI714 วิทยานิพนธ์
Thesis
 12 หน่วยกิต
SSI715 การศึกษาค้นคว้าอิสระ
Independent Study
6 หน่วยกิต
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

  ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 120,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท

*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*


 

รายละเอียดหนังสือที่สำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564)ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.3/325 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2566


 

รายละเอียดหนังสือที่สำนักงาน ก.ค.ศ. รับรองคุณวุฒิหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ 0206.6/520 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2567