>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Educational Administration

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : ค.ม. (การบริหารการศึกษา)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Education (Educational Administration)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.Ed. (Educational Administration)

ปรัชญาของหลักสูตร

    บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาอย่างมืออาชีพมีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ตามหลักธรรมาภิบาลของนักการศึกษา

จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ และพัฒนาคุณภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการทำวิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถทำการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ หรือเพื่อแก้ปัญหา เป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ในศาสตร์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกระบวนการบริหารการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาตามที่ ก.พ.รับรอง
    2) ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบและเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    3) คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา
    2) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทางการศึกษา
    3) ที่ปรึกษาด้านการบริหารการศึกษา
    4) อาจารย์ผู้สอนสาขาการบริหารการศึกษา
    5) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

    หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จัดหลักสูตรศึกษาแผน ก แบบ ก 2 หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแต่ละแผนการเรียนไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้

    1) หมวดวิชาเฉพาะด้าน สำหรับ แผน ก แบบ ก 2 เรียนไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
         (1) วิชาบังคับ สำหรับแผน ก แบบ ก 2 27
EEA701
ทฤษฎีหลักการและกระบวนทัศน์ในการบริหารการศึกษา
Theories, Principles and Paradigms in Educational Administration
3(3-0-6)
EEA702
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Educational Resources Administration and Philosophy of Sufficient Economy
3(3-0-6)
EEA703
ความเป็นผู้นำทางวิชาการและความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
การศึกษาและสถานศึกษา

Instructional Leadership of School and Educational Administrator
3(3-0-6)
EEA704
นโยบายและการวางแผนการศึกษา
Policy and Planning in Education
3(3-0-6)
EEA705
คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
Moral, Ethics and Code of Ethics
3(3-0-6)
EEA706
การประกันคุณภาพการศึกษา
Educational Quality Assurance
3(3-0-6)
EEA707
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพการบริหารการศึกษา
Professional Practicum in Educational Administration
3(90)
EEA719
การบริหารหลักสูตรและการสอน การบริหารกิจการนักเรียน
Curriculum and Instruction Administration, Student Affairs Administration
3(2-2-5)
EEA720
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติวิเคราะห์ทางการศึกษา
Educational Research Methodology and Analytical Statistics
3(2-2-5)
         (2) วิชาเลือก สำหรับ แผน ก แบบ ก 2
 6
EEA710 สัมมนาการบริหารการศึกษา
Seminar in Educational Administration
3(2-2-5)
EEA711 สัมมนาวิทยานิพนธ์*
Thesis Seminar 
3(2-2-5)
    2) วิทยานิพนธ์   
EEA715 วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต

    3) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต)

EEA721 ภาษาอังกฤษสำหรับนักบริหารการศึกษา
English for Educational Administrator
3(2-2-5)
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร

    ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 120,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท >>รายละเอียดค่าธรรมเนียม<<

*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*

>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
    ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Curriculum and Instruction

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Education (Curriculum and Instruction)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.Ed. (Curriculum and Instruction)

ปรัชญาของหลักสูตร

    มหาบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีสมรรถนะด้านหลักสูตรและการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีความเป็นผู้นำในการสร้างองค์ความรู้และการออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

จุดเด่นของหลักสูตร

    การผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในศาสตร์วิชาชีพครูด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน สามารถใช้วิธีการวิจัยเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเองเพื่อพัฒนางานในระบบงานด้านการพัฒนาหลักสูตรและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นคุณสมบัติสำคัญขอบบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ขับเคลื่อนงานทางด้านการศึกษา และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามที่ ก.พ. รับรอง
    2) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์กำหนด
    3) คัดเลือกตามประกาศหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้วิธีการสอบข้อเขียน และ/หรือสัมภาษณ์ตามเงื่อนไข และ/หรือข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) ครูผู้สอนในระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา
    2) ผู้บริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรและการสอนในสถานศึกษา และหน่วยงานที่จัดบริการทางการศึกษา
    3) ครู – อาจารย์ ผู้สอนในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
    4) ศึกษานิเทศก์
    5) นักวิชาการ
    6) นักวิจัยและนักพัฒนาหลักสูตรในหน่วยงานต่างๆ
    7) นักพัฒนาหลักสูตรในท้องถิ่น
    8) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาตามหน่วยงาน องค์กรต่างๆ
    9) ผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

     หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
        1) แผน ก แบบ ก2 รวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
            (แบบไม่เข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา)  >>โครงสร้างรายวิชา<<

        2) แผน ก แบบ ก2 รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 49 หน่วยกิต
            (แบบเข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา
) >>โครงสร้างรายวิชา<<

หมวดวิชา

แบบไม่ขอรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู

แบบขอรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู

1. หมวดวิชาบังคับ

15

25

2. หมวดวิชาเลือก

12

12

3. วิทยานิพนธ์

12

12

4. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
    (ไม่นับหน่วยกิต)

6

6

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

39

49

 

 

 

 

>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Science and Innovation for Development

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Science and Innovation for Development)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : Ph.D. (Science and Innovation for Development)

ปรัชญาของหลักสูตร

    รู้จริงในวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา นาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะนาไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่ต่อยอดจาการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะนาสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคคลในระดับสูง ที่เป็นปัจจัยที่สาคัญของการพัฒนาทุกด้านในอนาคต ซึ่งต้องการบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ การพัฒนานวัตกรรมต่อยอด ที่ต้องมีทักษะและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่จะนาสู่การพัฒนานวัตกรรม สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับสาขาวิชาอื่นได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะเป็นผู้นาสาคัญในการพัฒนาและแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจัดการศึกษาเป็นแบบ 1.1 และแบบ 2.1 โดยมีคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาดังนี้
    1) แบบ 1.1 (แผนการศึกษาที่มีการทาดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว)
        เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทาวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

        (
1) เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ศึกษา หรือศึกษาศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน
        (2) เป็นผู้มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 2 ปี หรือมีประสบการณ์การทาวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนและสังคม หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการนาเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน
        (3) หากไม่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในข้อ 1) และ 2) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรและให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
        (4) กรณีที่ผู้สมัครเรียนสาเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตในแผนการเรียนที่ไม่ได้ทาวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยอาจจัดให้เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทาวิจัยโดยไม่นับหน่วยกิตตามที่คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรเห็นชอบ
        (5) มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์กาหนด
    2) แบบ 2.1 (แผนการศึกษาที่มีการเรียนรายวิชาร่วมกับการทาดุษฎีนิพนธ์)
        เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทาวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

        (
1) เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาหรือวิทยาศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน
        (2) เป็นผู้มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 2 ปี หรือมีประสบการณ์การทาวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนและสังคม หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการนาเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน
        (3) คุณสมบัติทั่วไปให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
        (4) หากไม่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในข้อ 1) และ 2) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรและให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

    ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
    1) พิจารณาประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน ประสบการณ์หรือผลงานที่ผ่านมา
    2) มีหนังสือรับรองตามแบบของมหาวิทยาลัยรับรองผู้ที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
    3) ผ่านกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาตามกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
    2) นักวิชาการทางการศึกษา
    3) นักวิชาการในองค์การภาครัฐและเอกชน
    4) ผู้บริหารองค์การภาครัฐและเอกชน
    5) นักวิจัย
    6) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    7) ผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ (Startup) ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
    8) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต จัดการศึกษาเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1.1 และแบบ 2.1 โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ

รายการ เกณฑ์ อว. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
แบบ 1.1 แบบ 2.1 แบบ 1.1 แบบ 2.1
1) หมวดวิชาเฉพาะ - ไม่น้อยกว่า 12 ไม่นับหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 12
    วิชาเอก     - ไม่น้อยกว่า 12
    เอกบังคับ       ไม่น้อยกว่า 9
    เอกเลือก       ไม่น้อยกว่า 3
2) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 ไม่น้อยกว่า 36 ไม่น้อยกว่า 48 ไม่น้อยกว่า 36
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 ไม่น้อยกว่า 48 ไม่น้อยกว่า 48 ไม่น้อยกว่า 48

 โครงสร้างรายวิชา

แบบ 1.1 (แผนการศึกษาที่มีการทาดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว)
    1) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
GSI831 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Dissertation
48(0-0-2250)
    2) วิชาเสริม 2 วิชา (ไม่นับหน่วยกิต)  
GSI800 ภาษาอังกฤษสาหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต
Professional English for Doctoral Candidates
3(3-0-6)
GSI804 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Seminar in Science and Innovation
4 หน่วยกิต
 แบบ 2.1 (แผนการศึกษาที่มีการเรียนรายวิชาร่วมกับการทาดุษฎีนิพนธ์)
    1) หมวดวิชาเอกบังคับ * กำหนดให้เรียนจำนวน 9 หน่วยกิต ดังนี้
GSI801 การวิเคราะห์ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์
Analysis of Science Philosophy
3(3-0-6)
GSI802 กระบวนทัศน์ รูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง
Paradigm and Advanced Research Methodology
3(3-0-6)
GSI803 การออกแบบหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Curriculum design and Science and Innovation for Development
3(3-0-6)
GSI804 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา (ไม่นับหน่วยกิต)
Seminar in Science and Innovation for Development
4 หน่วยกิต
    2) หมวดวิชาเอกเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต  
GSI811

สถิติและการวิจัยขั้นสูง
Advanced Statistic and Research Methodology

2(2-0-4)
GSI812 การประเมินในวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Assessment in Science and Innovation for Development
3(3-0-6)
GSI813 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาหรับนักวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Information Technology and Communication for Science and Innovation for
Development
3(2-2-5)
GSI814 วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Science and Innovation for development
3(3-0-6)
GSI816 การวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์
Research for Competencies in Science and Technology for developing
Innovation
3(3-0-6)
    3) วิชาพื้นฐานภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร)
GSI800 ภาษาอังกฤษสาหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต
Professional English for Doctoral Candidates
3(3-0-6) 
    4) ดุษฎีนิพนธ์
  การสอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination
0 หน่วยกิต
GSI832 ดุษฎีนิพนธ์
Doctoral Dissertation
36 หน่วยกิต
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

    ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ตลอดหลักสูตรจำนวน 350,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 9 ภาคเรียน ภาคเรียนที่ 1-7 ภาคเรียนละ 40,000 บาท ภาคเรียนที่ 8-9 ภาคเรียนละ 35,000 บาท >>รายละเอียดค่าธรรม<<

*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*

>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    ภาษาอังกฤษ : Master of Business Administration Program in Business Administration

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Business Administration (Business Administration)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.B.A. (Business Administration)

ปรัชญาของหลักสูตร

    ผลิตมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ ให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความเป็นผู้นำ คิดวิเคราะห์เชิงการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างสร้างสรรค์สู่สากลและยั่งยืน

จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และภาครัฐได้ส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างนักวิชาการ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการที่มีความรู้ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปให้สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการดำเนินการและประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีศักยภาพ และสมรรถนะในการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานในองค์การ ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้ตามการเปลี่ยนแปลงของบริบทขององค์การและประเทศ โดยการผลิตบุคลากรทางด้านการบริหารจัดการให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิผล กอรปกับมีความเข้าใจในการดำเนินงานของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
    2) มีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ต้องได้คะแนนสะสมเฉลี่ยตามที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด
    3) สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ หรือเกี่ยวข้องจะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานตามที่หลักสูตรกำหนดโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตในการสำเร็จการศึกษา
    4) ทั้งนี้การพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    ประกอบอาชีพทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ รัฐวิสาหกิจ องค์การส่วนท้องถิ่น โรงงานอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ หรือในธุรกิจต่างๆ ดังนี้
   
1) ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ
    2) ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจต่างๆ
    3) พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจต่างๆ
    4) อาจารย์
    5) นักวิจัย
    6) นักวิชาการ
    7) ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ด้านการบริหาร การจัดการ

โครงสร้างหลักสูตร

    หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน โดยมีรายละเอียดดังนี้

หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 แผน ข
1) หมวดวิชาแกน
2) หมวดวิชาเฉพาะ
3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ
    (1) วิทยานิพนธ์
    (2) การศึกษาค้นคว้าอิสระ

18
16

12
-

18
12

-
6
หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 36 36

โครงสร้างรายวิชา

แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาแกนและวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
แผน ข ศึกษารายวิชาแกนและวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
    1) หมวดวิชาแกน
MBA711 การจัดการการตลาดยุคดิจิทัล
Digital Marketing Management
3(3-0-6)

MBA712

การบัญชีและการจัดการการเงิน
Accounting and Financial Management

3(3-0-6)

MBA713

การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Human Resource Management and Development

3(3-0-6)

MBA714

การจัดการการดำเนินงาน
Operations Management

3(3-0-6)

MBA715

การวิจัยและสถิติทางการบริหารธุรกิจ
Research and Statistics in Business Administration

3(2-2-5)

MBA716

การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์
Situation Analysis for Strategic Management

3(3-0-6)

    2) หมวดวิชาเฉพาะ  
แผน ก แบบ ก 2  ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 6  หน่วยกิต
แผน ข   ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
MBA721 การพัฒนาองค์การและการจัดการการเปลี่ยนแปลง
Organization Development and Changes Management
3(3-0-6)
MBA722 พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่
Organizational Behavior and Modern Management
3(3-0-6)
MBA723 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
International Business Management
3(3-0-6)
MBA724 การจัดการสถาบันการเงิน
Management of Financial Institutions
3(3-0-6)
MBA725 การจัดการคุณภาพ
Quality Management
3(3-0-6)
MBA726 การจัดการโลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย
Logistics Management, Environment and Safety
3(3-0-6)
MBA727 สัมมนาการบริหารธุรกิจ*
Seminar in Business Administration
3(2-2-5)
    3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ  
         (1) แผน ก แบบ ก 2
MBA741 วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต
         (2) แผน ข
MBA751 การสอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination
0 หน่วยกิต
MBA752  การศึกษาค้นคว้าอิสระ
Independent Study
6 หน่วยกิต

    4) รายวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต)

MBA701 ภาษาอังกฤษสำหรับนักธุรกิจ
English for Executive
3(3-0-6)
       ข้อกำหนดเฉพาะ : เงื่อนไขสำหรับผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือตามความเห็นของคณะกรรมการประจำหลักสูตร จะต้องเรียนรายวิชาดังนี้ โดยไม่นับหน่วย
 MBA702 หลักการบริหารธุรกิจและการบัญชีสำหรับนักธุรกิจ
Principles of Business Administration and Accountingfor Business People
3(3-0-6)
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

หมายเหตุ : * บังคับเรียน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

    1) ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหลักสูตรหรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 120,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท
    2) ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหลักสูตรหรือสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 140,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 7 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท  >>รายละเอียดค่าธรรมเนียม<<
 
*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*

>>หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564<<

ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Science and Innovation for Development

ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม (ไทย)     : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อย่อ (ไทย)      : วท.ม. (วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Science (Science and Innovation for Development)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)  : M.Sc. (Science and Innovation for Development)

ปรัชญาของหลักสูตร

    ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำไปสร้างนวัตกรรมนำสู่ การใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ให้ทันต่อความต้องการและการพัฒนาประเทศ

จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่จะนำสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคคล ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาทุกด้านในอนาคต ซึ่งต้องการบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีทักษะและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่จะนำสู่การพัฒนานวัตกรรม และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับสาขาวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไปได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษาในวิชาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์การสอนทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    3) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์การการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชนหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
    4) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน (ก.พ.) รับรอง
    5)
มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ในกรณีผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการศึกษามาก่อน ต้องได้คะแนนสะสมเฉลี่ยในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 และได้รับการเห็นชอบให้เข้าศึกษาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

    6) บุคคลทั่วไปที่จบการศึกษาสาขาวิชาอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและชุมชน หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และชุมชน
    7) สำหรับผู้ที่ไม่จบการศึกษาในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์หรือด้านการศึกษา ในวิชาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานตามที่สาขาวิชากาหนดโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตในการจบการศึกษา
    8) ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะสาขาตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

    1) อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
    2) นักวิชาการทางการศึกษา
    3) นักวิชาการในองค์การภาครัฐและเอกชน
    4) ผู้บริหารองค์การภาครัฐและเอกชน
    5) อาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันการศึกษา
    6) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
    7) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข

หมวดวิชา

จำนวนหน่วยกิต

แผน ก แบบ ก2

แผน ข

1) หมวดวิชาบังคับ

12

12

2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน

12

15

3) หมวดวิชาเลือก

3

 6

4) วิทยานิพนธ์

 12

-

5) การศึกษาค้นคว้าอิสระ

-

-

6) วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต

3

3

รวมไม่น้อยกว่า

39

39

 โครงสร้างรายวิชา

    1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

SSI701

ปรัชญาและวิสัยทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
Philosophy and Vision of Science

2(2-0-4)

SSI702

สถิติและระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
Research Methodology in Science and Innovation

3(3-0-6)

SSI703

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
Research and Development of Innovation in Science

3(2-2-5)

SSI704

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Seminar in Science and Innovation for Development

1(0-3-2)

SSI712

สมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรม
Competencies in Science and Technology for developing Innovation

 3(3-0-6)

SSI716

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
Innovation for Development in Science

 3(2-2-5)

    2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน
        แผน ก แบบ ก2   ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
        แผน ข                ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
      (1) รายวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ 
SSP701 กลศาสตร์
Mechanics
3(2-2-5)
SSP702 แม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetics
3(2-2-5)
SSP703 ฟิสิกส์แผนใหม่
Modern Physics
3(2-2-5)
SSP704 ฟิสิกส์เชิงความร้อน
Thermal Physics
3(3-0-6)
SSP705 อิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงสาหรับนักฟิสิกส์
Advanced Electronics for Physicist
3(2-2-5)
SSP706 ฟิสิกส์ของพลังงาน
Energy Physics
3(3-0-6)
SSP707 ฟิสิกส์และเทคโนโลยี
Physics and Technology
3(3-0-6)
  ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต 
SSP708 ฟิสิกส์ทั่วไป 1
General Physics 1
3(2-2-5)
SSP709 ฟิสิกส์ทั่วไป 2
General Physics 2
3(2-2-5)
SSP710 คณิตศาสตร์สาหรับนักฟิสิกส์
Mathematics for Physicist
3(3-0-6)
      (2) รายวิชาเคมี

SSC701

ความปลอดภัยเกี่ยวกับปฏิบัติการเคมี
Safety in Chemical Laboratory

3(2-2-5)

SSC702 

เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง
Advanced Inorganic Chemistry

3(2-2-5)

 SSC703

เคมีอินทรีย์ขั้นสูง
Advanced Organic Chemistry

3(2-2-5)

SSC704

เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง
Advanced Physical Chemistry

3(2-2-5)

SSC705

ชีวเคมีขั้นสูง
Advanced Biochemistry

3(2-2-5)

SSC706

เคมีวิเคราะห์ขั้นสูง
Advanced Analytical Chemistry

3(2-2-5)

SSC707

เคมีสิ่งแวดล้อมสาหรับวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
Environmental Chemistry for Science Education

3(2-2-5)

SSC708

การบาบัดน้าเสียเบื้องต้น
Fundamental of Water and Wastewater Treatments

3(2-2-5)

 

ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาเคมี สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต

SSC709

เคมีอนินทรีย์ 1
Inorganic Chemistry I

3(3-0-6)

SSC710

เคมีอินทรีย์ 1
Organic Chemistry I

3(3-0-6)

SSC711

เคมีวิเคราะห์
Analytical Chemistry

3(3-0-6)

      (3) รายวิชาชีววิทยา

SSB701

ชีววิทยาของสัตว์
Animal Biology

3(2-2-5)

SSB702

ชีววิทยาของพืช
Plant Biology

3(2-2-5)

SSB703

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ
Economic Plant Tissue Culture

3(2-2-5)

SSB704

พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล
Molecular Genetics

3(2-2-5)

SSB705

ความหลากหลายทางชีวภาพ
Biodiversity

3(2-2-5)

SSB706

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Biological Science

3(3-0-6)

SSB707

สัมมนาทางชีววิทยา
Seminar in Biology

3(3-0-6)

SSB708

การผลิตสื่อการสอนทางชีววิทยา
Production of Instructional Media in Biology

3(2-2-5)

SSB709

จุลชีววิทยาอาหารอุตสาหกรรม
Food Industrial Microbiology

3(2-2-5)

 

ข้อกำหนดเฉพาะรายวิชาชีววิทยา สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต

SSB710

ชีววิทยาทั่วไป
General Biology

3(3-0-6)

SSB711

ชีววิทยาของเซลล์
Cell Biology

3(3-0-6)

SSB712

นิเวศวิทยา
Ecology

3(3-0-6)

      (4) รายวิชาคอมพิวเตอร์  

SSI701

หลักสาคัญทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Fundamental of Computer and Information Technology

3(2-2-5)

SSI702

ระบบคอมพิวเตอร์
Computer Systems

3(2-2-5)

SSI703

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการพัฒนาระบบ
Computer Programming and System Development

3(2-2-5)

SSI704 

เทคโนโลยีฐานข้อมูล
Database Technology

3(2-2-5)

SSI705 

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Computer Network Technology

3(2-2-5)

SSI706 

มัลติมีเดียและการผลิตสื่อดิจิทัล
Multimedia and Digital Content Production

3(2-2-5)

SSI707 

การออกแบบและพัฒนาเว็บ
Web Design and Development

3(2-2-5)

SSI708 

กฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
Law and Ethics in Computer

3(2-2-5)

    3) หมวดวิชาเฉพาะด้าน
        แผน ก แบบ ก2   ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
        แผน ข                ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

SSI705

โครงงานวิทยาศาสตร์
Science Project

3(3-0-6) 

SSI706

การศึกษางานวิจัยทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
Research Studies in Science and Innovation

3(2-2-5)

SSI707

ปัญหาพิเศษทางการศึกษาวิทยาศาสตร์
Special Problems in Science Education

3(3-0-6)

SSI708

การวัดและประเมินผลการสอนวิทยาศาสตร์
Measurement and Evaluation in Science Teaching

3(3-0-6)

SSI709

การพัฒนาความสามารถในการสืบเสาะความรูทางวิทยาศาสตร์
Development of Scientific Inquiry Ability

3(3-0-6)

 SSI710

ทรัพยากรมนุษยทางดานวิทยาศาสตร์
Human Resource in Science

3(3-0-6)

EED701

สื่อมวลชนเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์
Mass Media for Science Teaching

3(3-0-6)

EGS701

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
Technique for Science Teaching

3(3-0-6)

EGS702

โปรแกรมการสอนวิทยาศาสตร์
Science Teaching Program

3(3-0-6)

EED702

การผลิตวัสดุเทคโนโลยีการสอนวิทยาศาสตร์
Instruction Materials Production in Science Teaching

3(2-2-5)

EET701

เทคโนโลยีทางการศึกษา
Technology in Education

3(3-0-6)

ERE701

การวิจัยเชิงคุณภาพ
Qualitative Research

3(3-0-6)

    4) วิชาพื้นฐานภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร)

 SSI711

ภาษาอังกฤษสาหรับบุคลากรทางวิทยาศาสตร์
English for Science and Innovation

3(3-0-6) 

    5) วิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ
  การสอบประมวลความรู้
Comprehensive Examination
 0 หน่วยกิต

SSI714

วิทยานิพนธ์
Thesis

 12 หน่วยกิต

SSI715

การศึกษาค้นคว้าอิสระ
Independent Study

6 หน่วยกิต

หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

  ผู้เข้าศึกษาต่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตลอดหลักสูตรจำนวน 120,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นภาคเรียน จำนวน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20,000 บาท

*ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา และการศึกษาดูงาน*

หมวดหมู่รอง